ฟุตบอล

HOMEPAGE

ประวัติฟุตบอลไทย ประวัติฟุตบอลโลก 

ฟุตบอล
ประวัติฟุตบอลและกติกา ทั้ง ประวัติฟุตบอลไทย ประวัติฟุตบอลโลก มีความเป็นมาอย่างไร อ่าน ประวัติฟุตบอลและกติกาการเล่นฟุตบอล กัน   
          นับได้ว่า ฟุตบอล เป็นกีฬาที่มีคนสนใจอยู่ทั่วมุมโลก เห็นได้จากเวลาที่มีการแข่งขันรายการใหญ่อย่างฟุตบอลโลก หรือฟุตบอลยูโร ก็จะมีบริษัทต่าง ๆ ผลิตสินค้าเกี่ยวกับการแข่งขันออกมาขายตอบสนองความต้องการของแฟนบอลในตลาดเสมอ เช่น แก้วฟุตบอลโลก เสื้อแข่ง เป็นต้น จึงเป็นหลักฐานชี้ชัดว่า กีฬาชนิดนี้ ได้รับความนิยมไปทั่วโลกจริง ๆ โดยเฉพาะประเทศไทย ที่ประชาชนสนใจกีฬาฟุตบอลเป็นอันดับ 1 อยู่แล้ว และวันนี้เรามี ประวัติฟุตบอลและกติกา ทั้ง ประวัติฟุตบอลไทย ประวัติฟุตบอลโลก เพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดอรรถรสในการรับชมการแข่งขันยิ่งขึ้น

 ประวัติฟุตบอลโลก
          จุดเริ่มต้นของกีฬาฟุตบอล ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่ากำเนิดมาจากที่ใดกันแน่ เพราะแต่ละชาติต่างออกมายืนยันว่าประเทศตนเองเป็นประเทศต้นกำเนิด เช่น อิตาลี กับ ฝรั่งเศส ก็มีการเล่น ซูเลอ หรือ จิโอโค เดล คาซิโอ ซึ่งมีกติกาคล้ายกับฟุตบอล เป็นต้น

          อย่างไรก็ตาม จุดเริ่มต้นของฟุตบอลที่มีหลักฐานอย่างเป็นทางการ เริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1863 (พ.ศ. 2406) ที่ประเทศอังกฤษ มีการจัดตั้งสมาคมฟุตบอลอังกฤษในปีนั้น และเริ่มมีการแข่งขันฟุตบอลลีกเป็นครั้งแรก ใน ค.ศ. 1888 (พ.ศ. 2431) และเริ่มมีการแข่งขันระหว่างประเทศครั้งแรกในปี ค.ศ. 1889 (พ.ศ. 2432)

          ในปี ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) เริ่มก่อตั้งสมาพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่าขึ้น และมีการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกใน ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2473) ที่ประเทศอุรุกวัย

กีฬาฟุตบอลในประเทศไทย

          สำหรับกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย เริ่มเข้ามาในยุคพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยมีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีนำเข้ามา จากการไปเรียนที่ต่างประเทศ ซึ่งใน พ.ศ. 2443 มีการแข่งขันฟุตบอลเป็นครั้งแรกระหว่างทีมชุดบางกอก กับชุดกรมศึกษาธิการ ที่สนามหลวง ปรากฎว่าเสมอกัน 2-2

          ต่อมาในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงสนใจกีฬาฟุตบอลอย่างมาก มีทีมฟุตบอลส่วนพระองค์ คือ ทีมเสือป่า และมีการเผยแพร่ข่าวสาร การเล่น เกี่ยวกับฟุตบอลอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ สมาคมฟุตบอลแห่งสยาม ถูกก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2459 อีกด้วย


ฟุตบอล

สนามแข่งขันฟุตบอล

          สนามฟุตบอล ไม่ได้มีการกำหนดขนาดไว้แบบตรง ๆ เนื่องจากในพื้นที่แต่ละสนาม อาจมีพื้นที่ไม่เท่ากัน แต่ได้มีการกำหนดด้านยาว กว้างประมาณ 100-130 หลา ส่วนด้านกว้าง กว้างประมาณ 50-100 หลา โดยแบ่งเขตแดนออกเป็น 2 ฝั่ง อย่างละเท่า ๆ กัน มี ประตูขนาดกว้าง 8 หลา สูง 8 ฟุต มีเขตโทษ ซึ่งนับห่างจากโกล ห่าง 18 หลา ส่วนพื้นสนามฟุตบอล ใช้หญ้าแท้หรือหญ้าเทียมก็ได้

ลูกฟุตบอล

          ลูกฟุตบอลมีลักษณะเป็นทรงกลม ขนาดเส้นรอบวงไม่เกิน 27-28 นิ้ว และหนัก 400-450 กรัม

จำนวนผู้เล่นฟุตบอล 

          มีจำนวนฝั่งละ 11 คน โดยที่เป็นผู้รักษาประตู 1 คน มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ฝั่งตรงข้ามยิงประตูได้

วิธีการเล่นฟุตบอล

          ผู้เล่นจะใช้เท้าเล่นเป็นหลัก โดยสามารถใช้อวัยวะส่วนอื่นที่ไม่ใช่แขนและมือ ในการเล่นได้ด้วย โดยมีเป้าหมายคือ การทำประตูฝ่ายตรงข้ามให้ได้
กติกาการเล่นฟุตบอล

           เวลาในการแข่งขัน การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 45 นาที โดยทั้ง 2 ฝั่งมีหน้าที่ยิงประตูฝั่งตรงข้ามให้ได้มากกว่า ทั้งนี้ หากเสมอกันในการแข่งขันฟุตบอลรายการแพ้คัดออก จะต่อเวลาเพิ่มอีกครึ่งละ 15 นาที รวม 2 ครึ่ง 30 นาทีด้วยกัน และถ้าหากยังตัดสินผู้ชนะไม่ได้ ก็จะดวลจุดโทษตัดสินฝั่งละ 5 ลูก ซึ่งถ้าหากตัดสินไม่ได้อีก ก็จะยิงทีละ 1 ต่อ 1 คือ หากใครยิงพลาด และอีกฝ่ายยิงได้ ก็เกมจบทันที อย่างไรก็ตาม เมื่อยิงครบ 11 คนแล้วตัดสินผู้ชนะไม่ได้ ก็จะวนกลับมายิงใหม่ที่คนแรก ไปเรื่อย ๆ

           การผิดกติกา ก็มี การที่ไม่ใช่ผู้รักษาประตูแล้วใช้มือเล่น หรือ การพยายามขัดขวางการเล่นของฝั่งตรงข้าม เช่น ชน กระแทก ผู้เล่นที่มีบอล ก็คือว่าเป็นการฟาล์ว และฝ่ายที่ถูกทำฟาล์ว ก็จะได้ลูกตั้งเตะ แต่ถ้าฝ่ายบุกถูกทำฟาล์วในเขตโทษของฝ่ายรับ ก็จะเป็นลูกจุดโทษ ที่ฝ่ายบุกจะได้โอกาสยิงแบบ 1 ต่อ 1 กับผู้รักษาประตูฝ่ายรับ

           กรณีที่ฟุตบอลออกข้าง ฝ่ายที่ไม่ได้ทำให้ออกข้างจะเป็นฝ่ายได้ทุ่ม ส่วนกรณีบอลออกหลัง ถ้าเป็นฝ่ายเจ้าของแดนทำออกหลังเอง ฝ่ายที่เดินหน้าบุก จะได้เตะมุมเข้ามา แต่ถ้าเป็นฝ่ายบุกที่ทำออก จะเป็นลูกตั้งเตะจากประตู

           ใบเหลือง-ใบแดง จะแจกก็ต่อเมื่อมีผู้เล่นที่ทำผิดกติกา ในลักษณะที่รุนแรง หรือ การถ่วงเวลา ผู้ตัดสินก็จะให้ใบเหลืองแก่คนที่ผิดกติกา ส่วนใบแดง ผู้ตัดสินจะให้ก็ต่อเมื่อ มีการทำฟาล์วที่รุนแรงมาก เช่น ทำให้ได้รับบาดเจ็บหนัก หรือ เล่นอันตรายอย่างการเปิดปุ่มสตั๊ดไปที่ขาของฝ่ายตรงข้าม เป็นต้น นอกจากนี้ การได้ใบแดง จะมีอีกกรณีหนึ่งคือ การทำฟาล์วแบบไม่รุนแรง แต่ฟาล์วขณะที่ฝั่งตรงข้ามกำลังจะทำประตูได้ ก็ได้รับใบแดงเช่นกัน

          การล้ำหน้า คือ การจ่ายบอลไปยังผู้เล่นที่ยืนอยู่สูงกว่าผู้เล่นฝั่งตรงข้ามในลำดับรองสุดท้าย

การคิดคะแนนการเล่นฟุตบอล

          นับจากจำนวนลูกฟุตบอลที่ผ่านเส้นประตูเข้าไปอย่างเต็มใบ ภายในเวลาที่กำหนดในการแข่งขัน (90 นาที)

    อ้างอิงจาก:https://hilight.kapook.com/view/72210

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรไฟล์